วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Week 8 : Data Management

Data management



ระบบ (System) คือ การใส่ input เข้าไปใน process ให้เกิด output ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดว่า input ประกอบดัวยอะไรบ้าง ดังนั้นหากใส่ input ต่างกัน output ก็จะต่างกันด้วย


ระบบสารสนเทศ (Information system) คือ ระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ และแต่ละสาขาที่ต้องการ เช่น MKIS สำหรับงานการตลาด AIS สำหรับงานบัญชี เป็นต้น


ความแตกต่างระหว่าง data และ information


data คือ ข้อเท็จจริงที่สนใจ


information คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำไปใช้ในรูปแบบที่ต้องการ


องค์ประกอบของระบบ(System)


• วัตถุประสงค์ (Obj.)


• ส่วนประกอบ (Elements)


• กระบวนการทำงาน > สิ่งที่นำเข้า (Inputs),กระบวนการ(Process),ผลลัพธ์(Output)


• สิ่งแวดล้อม (Environment)


• ขอบเขต (Boundary)


• การควบคุมและผลย้อนกลับ (Feedback)


Data manament


การจัดการข้อมูล มีปัญหาต่างๆ หลายสาเหตุ ได้แก่


1.ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ทุกอย่าง เพราะจำนวนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น


2. ข้อมูลกระจัดกระจาย เก็บรวบรวมยาก


3. ข้อมูลมีความซับซ้อน


4. รูปแบบของข้อมูลมีความแตกต่างกัน


5. ความปลอดภัย คุณภาพและจริยธรรมในการใช้ข้อมูล


6. เครื่องมือที่ใช้ข้อมูล


วัตถุประสงค์คือการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแปลงข้อมูลดิบเป็นสารสนเทศขององค์กรมีพื้นฐานดังนี้


1. Data profiling ข้อมูลเบื้องต้นของข้อมูลที่จัดเก็บ


2. Data quality management เพื่อการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล


3. Data integration เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เหมือนกันจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน


4. Data augmentation เพื่อเพิ่มคุณค่าของข้อมูล


Data Life Cycle Process แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้


1. เก็บรวบรวมข้อมูลจาก3 แหล่งคือ Internal Data, External Data และ Personal Data


2. เก็บข้อมูลใน database และปรับเปลี่ยนรูปแบบ(format)ของข้อมูลเข้าสู่ data warehouse


3. คัดลอกข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อไป


4. การวิเคราะห์ใช้เครื่องมือ เช่น Data analysis tools และ Data mining tools


Data Processing แบ่งได้เป็น 2 ประเภท


1. Transactional เป็นระบบปฏิบัติการ (Operational systems) ใช้ TPS จัดเก็บข้อมูลและแปลผลจากส่วนกลาง


2. Analytical เป็นการเอาข้อมูลมาใช้ประมวลผลอีกครั้งเพื่อการตัดสินใจระดับสูงขึ้นไป นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วิเคราะห์ต่อ


Data Warehouse การทำ Data Warehouse นั้นเป็นเหมือนขั้นตอนการเตรียมข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อการตัดสินใจอีก ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่ผู้บริหารเน้นการใช้ข้อมูลในวิเคราะห์ตัดสินใจ ดังนั้น ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะต้องทำ Data Warehouse


ประโยชน์ของ Data Warehouse


1. เข้าถึงข้อมูลได้เร็ว


2. เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย


ลักษณะของ Data warehouse


1. Organization จัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามหัวข้อ


2. Consistency ข้อมูลต้องมีรูปแบบที่สม่ำเสมอ


3. Time variant ข้อมูลที่เก็บนาน 5-10 ปี สามารถนำมาวิเคราะห์หาแนวโน้มได้


4. Non-volatile ไม่มีการแก้ไขข้อมูลในอดีต


5. Client/server ใช้ server ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย


องค์กรที่เหมาะกับ Data warehouse


• ข้อมูลเยอะ


• ข้อมูลถูกเก็บในที่ที่มีDatabaseเยอะ format ต่างกัน


• ผู้บริหารเป็น Information Base






นางสาวกาญจนา แซ่พ่าน 5202115068

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น